วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคโนโลยี Hardware และ Software สำหรับองค์การดิจิตอล

เมื่อองค์กรธุรกิจใด ๆ มีนโนบายหรือแผนงานที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ (Information) ย่อมจะนึกถึงโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Project) ในมุมมองของการนำเอาเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ มาใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของผู้บริโภค IT ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือที่ช่วยในการทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ IT ได้กลายเป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Tools) ในการผลักดันองค์กรให้สร้างรายได้และผลกำไรมากขึ้น ดังนั้น IT จึงมีบทบาทที่สำคัญในการประสานงาน (Coordination) และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในกระบวนการธุรกิจนั้น



แนวโน้มของ IT ยุคปัจจุบัน
IT ในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนบทบาทจากเครื่องมือในการปฏิบัติการ (Operational Tools) ในกระบวนการธุรกิจมาเป็นเครื่องมือในเชิงยุทธศาสตร์ขององค์กรธุรกิจ การบังเกิดขึ้น (Emergence) ของการมุ่งเน้นไปที่กระบวนการของวิสาหกิจ (Enterprise Process) ซึ่งเป็นการมองไปที่กระบวนการทั้งหมดขององค์กรอย่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน  บทบาทของ IT จึงต้องเปลี่ยนไปจากการจัดการกับข้อมูลดิบ (Data) และการทำธุรกรรม (Transaction) ไปเป็นการจัดการสารสนเทศ (Information) โดยลดทอนข้อกำจัดระหว่างฝ่ายหรือแผนก ระหว่างเทคโนโลยีและแม้กระทั่งความห่างไกลทางภูมิศาสตร์ จนเชื่อมต่อกับโครงข่ายการจัดการสารสนเทศในระดับบรรษัทโลกที่มีลักษณะของการเชื่อมโยงของข้อมูลและสารสนเทศไปทั่วทุกหนทุกแห่ง
องค์ประกอบที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้
  • มีการวิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มุ่งเน้นข้อมูล ไปสู่การมุ่งเน้นสารสนเทศ ซึ่งแต่เดิมข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการจัดการขององค์กรได้ ดังนั้นในยุคปัจจุบันที่กำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรที่มีกระบวนการ (Process) และความรู้ (Knowledge)เป็นศูนย์กลาง จึงทำให้โครงการริเริ่มต่าง ๆ จะต้องหันมาทำการปรับกระบวนการธุรกิจให้มีจุดที่เหมาะสมที่สุด (Optimization) มีการสร้างความรู้ในรูปแบบของกฎ (Rules) ของกระบวนการที่ส่งผลอย่างสม่ำเสมอต่อการทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นอัตโนมัติและมีกิจกรรมที่คิดในเชิงรุก (Proactive) สำหรับการใช้งานทางด้านซอฟต์แวร์ประยุกต์
  • การบังเกิดขึ้น (Emergence) และการได้รับการยอมรับของแนวคิดต่าง ๆ เช่น การจัดการกระบวนการธุรกิจ (Business Process Management) การวัดสมรรถนะกระบวนการและสถาปัตยกรรมเชิงการบริการ (SOA) ซึ่งได้ทำลายข้อกีดขวางดั้งเดิมที่เกิดจากกิจกรรมเทคโนโลยีที่ถูกแยกกันทำงานหรือปฏิบัติการ
  •  ความเข้มงวดและการบีบรัดของการปรับตัวเองให้ตรงกับข้อกำหนดและระเบียบทำให้ทุก ๆ กระบวนการจะต้องแสดงรายละเอียดและติดตามผลโดยมีเจ้าของกระบวนการเป็นผู้รับผิดชอบ
  • ความเป็นโลกาภิวัตน์ และการจัดจ้าง บริษัทจากภายนอกมาปฏิบัติการแทนในกระบวนการธุรกิจของตนเอง (Business Process Outsourcing) ได้กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ และกิจกรรมนี้ได้ทำลายกำแพงที่ถูกสร้างขึ้นมาจากข้อจำกัดด้านเวลาและระยะทาง จึงมีการจัดการให้บริษัทจากภายนอกมาดำเนินงานกิจกรรมบางอย่างในกระบวนการธุรกิจ การทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นระบบอัตโนมัติเสียก่อนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมาจัดทำก่อนการจัดจ้างบริษัทภายนอกมาปฏิบัติการการแทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น