วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา Wal-mart

1.How is RFID technology related to Wal-Mart's business model? How does it benefit suppliers?
เทคโนโลยี RFID เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยใช้การระบุชื่อหรือลักษณะด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งได้มีการนำมาใช้ในงานประเภทต่าง ๆเช่น ระบบเข้าออกอาคาร ด้านการเกษตรกรรมและปศุสัตว์ เป็นต้น ซึ่ง Wal-Mart นำมาใช้และประสบความสำเร็จ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของบริษัทคือ ลดต้นทุนให้ต้ำกว่าคู่แข่งขัน ลดระยะเวลาการส่งสินค้า ลดค่าใช้จ่ายแรงงาน การฉ้อโกง และการขโมย เพิ่มความถูกต้องในการวางแผน และความถูกต้องในการดำเนินงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่ง การรับ และการสั่งซื้อ

2.What management, organization, and technology factors explain why Wal-Mart suppliers had trouble implementing RFID system?
จาก Supplier ทั้งหมดมีเพียงแค่ 30 เปอร์เซนต์แรกเท่านั้นที่ยอมทำตามเทคโนโลยีใหม่ RFID นี้ ซึ่งการที่จะติด Tag กับตัวสินค้าทุกๆสินค้า จะเป็นการเพิ่มต้นทุนกับตัวสินค้าอย่างมาก ซึ่งจากต้นทุนสินค้า ราว 15ล้าน ซึ่งหากทำการติดตั้ง RFID ลงไปจะต้องเพิ่มต้นทุนเข้าไปอีกถึง 6ล้านในการใช้ป้ายราคา
3.What conditions would make adopting RFID more favorable for suppliers?
ช่วยให้ระบบการจัดขนส่งดีขึ้น โดยที่สามารถตรวจสอบระยะทางตั้งแต่เริ่มขนส่งไปยังปลายทางได้ดีขึ้น ลดต้นต้นการจัดส่งสิน ลดค่าใช้จ่ายในการสต็อกสินค้ารวมถึงค้าใช้การการดูแลและบำรุงสินค้าต่างๆ
4.Should Wal-Mart require all its suppliers to use RFID? Why or why not? Explain your answer.
หากมองในมุมของผู้สนับสนุนวัตถุดิบหรือสินค้า (Supplier) ให้แก่ Wal-Mart ในระยะยาวก็คงจะเห็นด้วยและสนับสนุนแนวคิดที่จะใช้ RFID แทน Barcode แบบเก่า เนื่องจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังและรวมถึงรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่ถ้ามองในแง่ของผู้บริโภคก็คงไม่เห็นด้วยในขณะนี้จนกว่า Wal-Mart จะมีคำตอบที่เหมาะสมให้กับ 2 คำถามดังต่อไปนี้
1.ภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการ Implement ระบบ RFID จะถูกรับผิดชอบโดยใคร หรือจะผลักภาระไปให้ผู้บริโภคด้วยการบวกเพิ่มเข้าไปในราคาสินค้า
2. RFID ทำงานด้วยคลื่นความถี่วิทยุ อยากทราบว่ามีงานวิจัยอะไรหรือไม่ที่สนับสนุนว่าคลื่นความถี่วิทยุเหล่านั้นไม่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่นอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับทารกหรือผู้ป่วย หากประเด็นเหล่านี้ได้รับการชี้แจงคงทำให้ผู้บริโภคปลายน้ำรับรู้และช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้า

เทคโนโลยี Hardware และ Software สำหรับองค์การดิจิตอล

เมื่อองค์กรธุรกิจใด ๆ มีนโนบายหรือแผนงานที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ (Information) ย่อมจะนึกถึงโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Project) ในมุมมองของการนำเอาเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ มาใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของผู้บริโภค IT ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือที่ช่วยในการทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ IT ได้กลายเป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Tools) ในการผลักดันองค์กรให้สร้างรายได้และผลกำไรมากขึ้น ดังนั้น IT จึงมีบทบาทที่สำคัญในการประสานงาน (Coordination) และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในกระบวนการธุรกิจนั้น



แนวโน้มของ IT ยุคปัจจุบัน
IT ในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนบทบาทจากเครื่องมือในการปฏิบัติการ (Operational Tools) ในกระบวนการธุรกิจมาเป็นเครื่องมือในเชิงยุทธศาสตร์ขององค์กรธุรกิจ การบังเกิดขึ้น (Emergence) ของการมุ่งเน้นไปที่กระบวนการของวิสาหกิจ (Enterprise Process) ซึ่งเป็นการมองไปที่กระบวนการทั้งหมดขององค์กรอย่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน  บทบาทของ IT จึงต้องเปลี่ยนไปจากการจัดการกับข้อมูลดิบ (Data) และการทำธุรกรรม (Transaction) ไปเป็นการจัดการสารสนเทศ (Information) โดยลดทอนข้อกำจัดระหว่างฝ่ายหรือแผนก ระหว่างเทคโนโลยีและแม้กระทั่งความห่างไกลทางภูมิศาสตร์ จนเชื่อมต่อกับโครงข่ายการจัดการสารสนเทศในระดับบรรษัทโลกที่มีลักษณะของการเชื่อมโยงของข้อมูลและสารสนเทศไปทั่วทุกหนทุกแห่ง
องค์ประกอบที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้
  • มีการวิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มุ่งเน้นข้อมูล ไปสู่การมุ่งเน้นสารสนเทศ ซึ่งแต่เดิมข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการจัดการขององค์กรได้ ดังนั้นในยุคปัจจุบันที่กำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรที่มีกระบวนการ (Process) และความรู้ (Knowledge)เป็นศูนย์กลาง จึงทำให้โครงการริเริ่มต่าง ๆ จะต้องหันมาทำการปรับกระบวนการธุรกิจให้มีจุดที่เหมาะสมที่สุด (Optimization) มีการสร้างความรู้ในรูปแบบของกฎ (Rules) ของกระบวนการที่ส่งผลอย่างสม่ำเสมอต่อการทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นอัตโนมัติและมีกิจกรรมที่คิดในเชิงรุก (Proactive) สำหรับการใช้งานทางด้านซอฟต์แวร์ประยุกต์
  • การบังเกิดขึ้น (Emergence) และการได้รับการยอมรับของแนวคิดต่าง ๆ เช่น การจัดการกระบวนการธุรกิจ (Business Process Management) การวัดสมรรถนะกระบวนการและสถาปัตยกรรมเชิงการบริการ (SOA) ซึ่งได้ทำลายข้อกีดขวางดั้งเดิมที่เกิดจากกิจกรรมเทคโนโลยีที่ถูกแยกกันทำงานหรือปฏิบัติการ
  •  ความเข้มงวดและการบีบรัดของการปรับตัวเองให้ตรงกับข้อกำหนดและระเบียบทำให้ทุก ๆ กระบวนการจะต้องแสดงรายละเอียดและติดตามผลโดยมีเจ้าของกระบวนการเป็นผู้รับผิดชอบ
  • ความเป็นโลกาภิวัตน์ และการจัดจ้าง บริษัทจากภายนอกมาปฏิบัติการแทนในกระบวนการธุรกิจของตนเอง (Business Process Outsourcing) ได้กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ และกิจกรรมนี้ได้ทำลายกำแพงที่ถูกสร้างขึ้นมาจากข้อจำกัดด้านเวลาและระยะทาง จึงมีการจัดการให้บริษัทจากภายนอกมาดำเนินงานกิจกรรมบางอย่างในกระบวนการธุรกิจ การทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นระบบอัตโนมัติเสียก่อนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมาจัดทำก่อนการจัดจ้างบริษัทภายนอกมาปฏิบัติการการแทน