วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Enterprise Application Integration

การช่วยให้องค์กรย้ายระบบงานจากระบบแบบแยกส่วนที่ใช้อยู่เดิม ไปสู่ระบบใหม่ที่เป็นหนึ่งเดียว ถึงแม้จะมีการใช้งานหลายแพลตฟอร์ม หรือฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันก็ตาม เป็นรูปแบบของการพัฒนาระบบที่อินทิเกรตระบบต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ที่การส่งผ่านข้อมูลจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งเป็นไปได้ยาก หรือไม่สามารถ เป็นไปได้ในขณะนี้)
ให้สามารถส่งผ่านข้อมูลจากระบบหนึ่ง ไปสู่อีกระบบหนึ่ง เพื่อการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร และทำกำไรให้แก่องค์กร
ในทางธุรกิจแล้ว EAI ช่วยให้เราสามารถ ทำให้เกิดโซลูชันใหม่ ๆ ทางธุรกิจแก่องค์กร ตัวอย่างเช่น
- การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (CRM)
- เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับระบบซัพพลายเชน
- ช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในองค์กร
- ลดเวลาในการพัฒนาโซลูชั่นให้น้อยลง
- นำคุณค่าของระบบเดิม (Legacy System) มาใช้ประโยชน์
- สร้างโอกาสในการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่นอินเทอร์เน็ต  ซึ่ง Enterprise Application Integration ประกอบด้วย

1. Enterprise Systemคือระบบหรือกระบวนการต่างๆ ที่ใช้ทั้งองค์กร เพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน เพื่อช่วยให้การทำงานสะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะใช้ Database และ Data ร่วมกัน ซึ่งจะคอยจัดการระบบสารสนเทศ โดยรวมเอา Business Process หลักๆขององค์หารเข้ามารวมไว้เป็นหนึ่งเดียว

ลักษณะของ Enterprise system

  • ทำให้องค์กรมีโครงสร้างที่แข็งแรง และมีลักษณะการทำงานที่เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีการแบ่งเป็นระยะย่อยๆของใครของมัน
  • การบริหารจัดการดีขึ้น
  • ใช้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะง่ายต่อการดูแล
  • การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
การได้มาซึ่ง Enterprise systems
  • มีการสร้าง Business Model เกิดขึ้นมากมาย
  • มีการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ลงทุนมาก ใช้งานยาก
  • ไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดในการทำงาน
2. Supply Chain Management systems : SCM
Supply Chain หรือห่วงโซ่อุปทาน ใช้เรียกหน่วยงานที่อยู่ในสายธุรกิจ กล่าวคือ ทุกหน่วยงานเป็นส่วนหนึ่งที่ร้อยเรียงกันของกระบวนการ ที่จะนำสินค้า/บริการ ไปสู่ผู้บริโภค หรือก็คือ การเชื่อมโยงกันของระบบ Logistics ของแต่ละหน่วยงานในสายธุรกิจเดียวกัน เพื่อให้วัตถุดิบส่งผ่านจากหน่วยงานแรก ซึ่งเป็นผู้ผลิต/ผู้ขายวัตถุดิบ ไปยังหน่วยงานที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อผลิตสินค้า แล้วส่งต่อไปยังหน่วยงานต่อไป ซึ่งเป็นผู้ที่จะจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง โดยสรุปแล้ว Logistics คือภาคย่อยของแต่ละหน่วยงาน เป็นกิจกรรมที่แต่ละหน่วยงานต้องบริหาร และเมื่อแต่ละทุกหน่วยงานในสายธุรกิจเดียวกันมาวางแผนร่วมกัน เพื่อให้การบริหารในภาคย่อยมีความสอดคล้อง มีทิศทางและเป้าหมายร่วมกัน นั่นก็จะกลายเป็น Supply Chain Management ทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) และ Logistics หรือ ระบบการจัดส่งแล้วทั้งสองเรื่องนี้ต่างมีความเกี่ยวพันและสอดคล้องกันค่อนข้างมากโดย
ลอจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการในการวางแผน การดำเนินการ ตลอดจนการควบคุมในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาวัตถุดิบ สินค้า บริการและข้อมูลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตจนถึงจุดสุดท้ายของการบริโภค ระบบการจัดส่งประกอบไปด้วยกิจกรรม 12 กิจกรรมซึ่งประกอบไปด้วย
1. การให้บริการลูกค้า

2. การประมวลผลคำสั่งซื้อ
3. การสื่อสารเพื่อการกระจายสินค้า
4. การควบคุมสินค้าคงคลัง
5. การพยากรณ์อุปสงค์

6. การขนส่ง
7. การขนย้ายสินค้า

8. การบริหารคลังสินค้า
9. การจัดซื้อจัดหา

10. การบริหารอะไหล่และบริการเสริม
11. การบรรจุภัณฑ์

12. การจัดการสินค้ารับคืน
การจัดการด้าน ห่วงโซ่อุปทานและลอจิสติกส์ที่ดีนั้น จะทำให้การไหลเวียนของสินค้าและบริการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและยังทำให้คุณค่าบริการสูงขึ้น เกิดการไหลเวียนของข้อมูลสารสนเทศ ด้วย



3.  Customer relationship management system : CRM
Customer Relationship Management หรือเรียกว่าการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด  

เป้าหมายของ CRM
เป้าหมายของ CRM นั้นไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการ
พัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป



ประโยชน์ของ CRM
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer  Behavior
2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า

4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ


4.Knowledge Management System : KM
ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
  • การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
  • การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
  • การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
  • การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
  • การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
  • การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
  • การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ของ Knowledge Management System
1. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต

3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้

มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
เป็นการ พัฒนาคน และพัฒนาองค์กร

5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น

เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผลและน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ

6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน

7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที

8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการ
จากความรู้ที่มี

เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร

9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่

10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจ / แนวดิ่ง สู่ วัฒนธรรมความรู้ / แนวราบ

11. ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น

12. การจัดการความรู้ช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจลูกค้า แนวโน้มของการตลาด

และการแข่งขันทำให้เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน

13. การพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการพัฒนาความสามารถขององค์กรในการใช้ประโยชน์

จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่

14. การยกระดับผลิตภัณฑ์ การนำการจัดการความรู้มาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ

15. การบริหารลูกค้า การศึกษาความสนใจและความต้องการของลูกค้าจะเป็นการสร้างความพึงพอใจ

และเพิ่มยอดการขาย และการสร้างรายได้

16. การลงทุนทางทรัพยากรบุคคล การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการเรียนรู้ร่วมกัน

1 ความคิดเห็น:


  1. I want to share a testimony on how Mr Pedro loan offer helped my life,
    It isn't a good idea to use a payday loan on a regular basis. In the event that you endlessly prolong your repayment date and borrow often towards your subsequent paycheck, it could run you a good amount of money. However, it is just as sensible to decide on payday loans as they can be swiftly approved exactly the same day you put in your loan application form. You can contact Mr Pedro loan offer because my payday loan was very fast to proceed, email pedroloanss@gmail.com to request any kind of loan. Whatsapp +18632310632

    ตอบลบ